วัสดุศาสตร์ (Materials Science) ลดโลกร้อนได้อย่างไร เรามีคำตอบ!

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นปัญหาใหญ่ที่มนุษยชาติทุกคนล้วนเผชิญ ปัจจุบันมีการร่วมแรงร่วมใจของนานาประเทศ ตั้งแต่ระดับรัฐบาล องค์กรภาคเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไป เพื่อรักษาโลกใบนี้ให้ยังคงมีสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อส่งมอบต่อให้แก่ลูกหลาน และในความร่วมมือระดับนานาชาติ ได้เกิด “ความตกลงปารีส” (Paris Agreement) ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change – UNFCCC) ที่ประเทศสมาชิกภาคีกรอบอนุสัญญาฯ เห็นชอบร่วมกันในการประชุมภาคีประจำปี (Conference of Parties – COPS) สมัยที่ 21 ที่จะดำเนินการครอบคลุมในเรื่องต่างๆ เพื่อลดอุณหภูมิของโลก

ไม่ใช่เพียงภาครัฐบาลและ NGO เท่านั้น ที่ได้มุ่งมั่นดำเนินการในเรื่องสภาพภูมิอากาศ เอกชนเช่น Dow ก็ประกาศจุดยืนชัดเจนในการร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมี “เป้าหมายเพื่อความยั่งยืน” (Sustainability Goal) อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 โดยแบ่งเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนทุกๆ 10 ปี ล่าสุด ปี พ.ศ. 2563 Dow ได้ประกาศเป้าการทำงานใหม่ ต่อยอดจากเป้าหมายความยั่งยืนที่มีได้ประกาศไว้ในปี พ.ศ. 2555 นั่นก็คือการรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการมุ่งมั่นพัฒนาและใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรตั้งต้นน้อยลง และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยให้ลูกค้าลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ด้วย ซึ่ง Dow นั้นมีนวัตกรรมล่าสุดเพื่อการลดการปล่อยคาร์บอน สาเหตุหลักของโลกร้อนและมีการนำมาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรมจนสามารถลดมวลนวมของคาร์บอนได้จริง

อุตสาหกรรมก่อสร้างลดคาร์บอนในมหกรรมโตเกียวโอลิมปิก 2020

Tokyo

“การกีฬาคาร์บอนต่ำ” คำนี้อาจจะฟังดูแปลกหู แต่นี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียว ซึ่ง Dow ในฐานะพันธมิตรอย่างเป็นทางการด้านการลดคาร์บอนของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้นำนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญมาเพิ่มประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความยั่งยืนของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก รวมทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งจากการก่อสร้าง การดำเนินงานด้านต่างๆ และการเดินทางของนักกีฬา ผู้ชม รวมทั้งสื่อมวลชน ไปยังสนามแข่งขัน

การดำเนินงานจะมีการวัดแหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างสมดุลของการปล่อยมลพิษ ให้ผลกระทบของปริมาณคาร์บอนสุทธิของกิจกรรมการแข่งขันรวมแล้วเป็นศูนย์ ผ่านเทคโนโลยีของ Dow ที่นำมาใช้ปรับปรุงสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันกีฬาหลายแห่ง ทั้งใหม่และที่มีอยู่เดิม เพื่อช่วยป้องกัน ปิดผนึก เชื่อมต่อ เคลือบ ปกป้อง และส่งมอบความยั่งยืนในระยะยาวของอาคารหลังจากพิธีปิดการแข่งขัน มากกว่าครึ่งหนึ่งของสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกซึ่งเป็นสถานที่เดิมที่มีอยู่แล้ว การปรับปรุงสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 80,000 ตัน โดยนำเทคโนโลยีต่างๆ ของ Dow มาใช้เพื่อช่วยยกระดับประสิทธิภาพและความสวยงามของส่วนหน้าอาคาร ภายนอกอาคาร รวมไปถึงระบบไฟฟ้าด้วย

ตัวอย่างโซลูชันของ Dow ในมหกรรมโตเกียวโอลิมปิก 2020

  • DOWANOL™ ไกลคอลอีเทอร์ (Glycol Ethers) ที่ใช้ในน้ำเป็นตัวทำละลาย จึงมีสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายในระดับที่ต่ำ ช่วยลดความเสียหายจากความชื้น การแตกร้าว และการผุกร่อน เพื่อให้สถานที่ยังคงดูใหม่ ใช้กับงานพื้นอีพ็อกซี่และพื้นอะคริลิคสำหรับสนามกีฬา
  • ELASTENE™ อีลาสโตเมอร์ (Elastomeric) นวัตกรรมสำหรับสีทาภายนอกที่ช่วยปกป้องผนังอาคารด้วยคุณสมบัติการต้านทานสิ่งสกปรกและน้ำได้ดีเยี่ยม
  • อะคริลิคโพลีเมอร์ PRIMAL™ เป็นตัวทำละลายที่มีคุณสมบัติปกป้องผนังภายในอาคารให้ทนทานในระยะยาวและยึดเกาะดีเยี่ยม
  • Dow AXELERON™ เป็นสารประกอบใช้ในชั้นฉนวนในสายโทรคมนาคม ช่วยให้ความเร็วในการส่งและสัญญาณของสนามกีฬามีประสิทธิภาพและวางใจได้มากที่สุด ลดความเสี่ยงของสัญญาณขัดข้อง นอกจากนี้ ยังมีการใช้สารประกอบ AXELERON™ ร่วมกับ ENGAGE™ โพลิโอเลฟินอีลาสโตเมอร์ (Polyolefin Elastomers) ในการทำชั้นฉนวนสำหรับสายเคเบิลแรงดันต่ำและขนาดกลางที่ยาวกว่า 45 กิโลเมตร เพื่อช่วยส่งกำลังไฟฟ้าที่มีความเสถียรได้ทั่วทั้งอาคาร
  • DOWSIL™ SE 797 สารผนึกซิลิโคนที่ถูกใช้ในหลังคาและทางเดินเชื่อมที่เชื่อมโยงศูนย์กระจายเสียงนานาชาติกับศูนย์ข่าวหลัก ทำให้ด้านหน้ากระจกดูโฉบเฉี่ยว ไม่มีกรอบโลหะ สารผนึกซิลิโคนมีการยึดเกาะที่ดีเยี่ยม ทั้งยังป้องกันสภาพอากาศ และยังช่วยดูดซับแรงสั่นสะเทือนระหว่างองค์ประกอบของโครงสร้าง เพื่อป้องกันการแตกร้าวที่อาจเป็นผลมาจากอุณหภูมิสูงในช่วงฤดูร้อนของโตเกียว
  • VORACOR™ โพลียูรีเทนของ Dow ถูกนำไปใช้ในการทำกระดานโต้คลื่น เนื่องจากสามารถขึ้นรูปได้หลากหลายและน้ำหนักเบา มีความหนาแน่นต่ำ แต่มีความแข็งแรงสูง สามารถขึ้นรูปได้ง่ายและทนทาน นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติไม่ทำลายโอโซนใันชั้นบรรยากาศอีกด้วย
  • เทคโนโลยีอีลาสโตเมอร์ (Elastomer) VERSIFY™ ได้รับเลือกจาก Toppan Printing มาใช้ในการผลิตเส้นใยโพลิโอเลฟินส์ ซึ่งถูกนำมาใช้ทำป้ายชั่วคราวต่างๆ โดยชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติกทั้งหมดจะเป็นโพลิโอเลฟินส์เพียงชนิดเดียวเพื่อให้ง่ายต่อการรีไซเคิล เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง Dow และ Toppan ตั้งใจที่จะรวบรวมป้ายต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป รวมถึงนำมาผ่านกระบวนการให้กลายเป็นเม็ดพลาสติกเพื่อนำมาใช้ใหม่ หรือนำมาผสมกับเศษไม้เพื่อผลิตเป็นวัสดุที่สามารถนำไปทำเป็นม้านั่ง พื้น เป็นต้น

สำหรับมหกรรมกีฬาโตเกียว 2020 ประกอบไปด้วยสถานที่ทั้งหมด 43 แห่ง ได้แก่ อาคารก่อสร้างถาวรใหม่ 8 แห่ง สถานที่ที่มีอยู่เดิม 25 แห่ง และสถานที่ชั่วคราวอีก 10 แห่ง ซึ่งได้รับการออกแบบใหม่เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนในเมืองและผู้อยู่อาศัยในทศวรรษหน้า รวมถึงจะช่วยสร้างเกียรติประวัติให้กับประเทศญี่ปุ่นต่อไป

กว่าที่จะมาถึงมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ในปี 2020 ที่โตเกียว Dow ได้มีส่วนร่วมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ซึ่งเป็นปีแรกที่ Dow เริ่มจัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้แก่สถานที่จัดการแข่งขัน และในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา การเป็นพันธมิตรกันนี้ก็ได้พัฒนาและเติบโต จนในปี พ.ศ. 2553 Dow ได้กลายเป็นบริษัทวัสดุศาสตร์อย่างเป็นทางการของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ The Olympic Partners (TOP) ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการเป็นพันธมิตรด้านคาร์บอนกับคณะกรรมการจัดงานโอลิมปิกที่เมืองโซชิและนครริโอ เด จาเนโร (Sochi and Rio Organizing Committees) คณะกรรมการโอลิมปิกสากลก็ได้แต่งตั้ง Dow ให้เป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการด้านการลดคาร์บอน เพื่อจับมือกันก้าวไปสู่เป้าหมาย “การกีฬาคาร์บอนต่ำ” เพื่อช่วยให้โลกใบนี้ยังคงมีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ต่อไป

Sport

อุตสาหกรรมโรงกลั่นปรับตัวสู้โลกร้อน

โรงกลั่น

ปัจจุบัน ทั่วโลกตื่นตัวต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจากภาวะโลกร้อน หรือ Climate Change โดยหลายประเทศตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutral) และมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (net zero emissions) ภายในปี ค.ศ. 2050 เพื่อผลักดันเป้าหมายการรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส ตามความตกลงปารีส และเนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน ทิศทางของโลกจึงมุ่งเน้นไปยังการพัฒนาพลังงานสะอาดและลดการใช้พลังงานลง อย่างไรก็ตาม เรายังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานจากฟอสซิลได้ในขณะนี้ ดังนั้น ทางออก คือ “ทำอย่างไรให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงด้วย”

คุณวิชาญ ตั้งเคียงศิริสิน
คุณวิชาญ ตั้งเคียงศิริสิน ผู้อำนวยการฝ่ายขายภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย

เมื่อภาคอุตสาหกรรมต้องมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่จุดเริ่มต้นการผลิตอย่างการผลิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ Dow ก็ได้มีเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดย คุณวิชาญ ตั้งเคียงศิริสิน ผู้อำนวยการฝ่ายขายภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ได้กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์หัวข้อ “Sustainable Refinery Trend and Technology” ให้เห็นแนวโน้มสำคัญของอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน 6 ประการในปัจจุบัน คือ

  1. มีการปรับปรุงเพิ่มอัตราการใช้งานของเครื่องจักรการกลั่นน้ำมันของโรงกลั่นเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดในการผลิต
  2. แหล่งน้ำมันดิบที่มีคุณภาพมีจำนวนลดลง จึงต้องหันมาใช้น้ำมันดิบจากแหล่งที่มีปริมาณกำมะถันเจือปนมากขึ้น
  3. ปัจจุบันมีการออกมาตรการเข้มงวดมากขึ้นในการกำหนดค่าปริมาณกำมะถัน ในผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดต่างๆ เช่น ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์น้ำมันสำหรับเรือเดินสมุทรที่กำหนดโดย International Maritime Organization (IMO)
  4. การกำหนดมาตรฐานปริมาณการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และอนุพันธ์ของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เข้มงวดขึ้น
  5. มีการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งคาร์บอนไดออกไซด์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพื่อบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน
  6. การลดการใช้พลังงาน ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ดังนั้น สิ่งที่โรงกลั่นน้ำมันต้องการในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ โดยลดการใช้พลังงานลงให้ได้มากที่สุด ลดความจำเป็นในการหยุดเดินเครื่องนอกแผน ลดปัญหาเช่น การกัดกร่อน ซึ่งจะช่วยยืดอายุการทำงานของโรงกลั่นและลดระยะเวลาการซ่อมบำรุงลง โดยไม่ต้องเพิ่มเม็ดเงินในการลงทุนจำนวนมาก ขณะเดียวกันต้องช่วยดักจับก๊าซต่างๆ จากกระบวนการผลิต เพื่อลดการปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม

เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวของกลุ่มโรงกลั่น Dow จึงได้คิดค้นสาร UCARSOL™ (ยูคาซอล) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุด เพื่อดักจับก๊าซพิษที่ถูกปล่อยออกจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้า และโรงงานปุ๋ย เพื่อแก้ปัญหาที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงกลั่น ลดการปล่อยก๊าซที่เป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และยังช่วยลดการใช้พลังงานในระบบการผลิต

โดยสาร UCARSOL™ นี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซที่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อมและยังช่วยลดการกัดกร่อนในระบบของอุปกรณ์ รวมถึงก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน โดยกลุ่มบริษัท Dow มีระบบบริการหลังการขาย Amine Management Program เพื่อเก็บตัวอย่างไปวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานหน่วยผลิตที่ใช้สาร UCARSOL™ รวมถึงให้ความรู้ คำแนะนำ และวิธีแก้ปัญหาให้ด้วย โดยโครงการที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ของกลุ่มบริษัท Dow เช่น โรงกลั่นน้ำมันในเกาหลีใต้ และโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่น ต่างประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสามารถลดการใช้พลังงานลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ผลักดันให้พลาสติกทำหน้าที่ที่แท้จริงในการช่วยลดโลกร้อน

Propylene Oxide Plant

หนี่งในธุรกิจหลักของ Dow คือ พลาสติกเพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ ซึ่ง Dow ก็ได้มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้มีการปลดปล่อยคาร์บอนได้น้อยลง เช่น การนำเอาพลาสติกรีไซเคิลมาทำเม็ดพลาสติกที่มีคุณภาพสูง การทำให้บรรจุภัณฑ์บางลงแต่มีความทนทานยิ่งขึ้น รวมถึงการพยายามสร้างระบบให้เกิดการนำเอาพลาสติกใช้แล้วไปรีไซเคิล ให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ไม่มีพลาสติกหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่ Dow พยายามลงมือทำ ซึ่งเราจะมาพูดคุยกับ คุณอนุรักษ์ รัศมีอมรวิวัฒน์ Climate Change Specialist ถึงการทำงานของ Dow เพื่อทำให้พลาสติกช่วยลดโลกร้อนได้จริง

คุณอนุรักษ์ รัศมีอมรวิวัฒน์ Climate Change Specialist
คุณอนุรักษ์ รัศมีอมรวิวัฒน์ Climate Change Specialist

คุณอนุรักษ์ ชวนให้ทุกคนลองมองย้อนไปสัก 40-50 ปีที่แล้ว ที่พลาสติกก่อกำเนิดมา วัตถุประสงค์คือการทดแทนวัสดุจากธรรมชาติในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แอร์ ตู้เย็น ทีวี ปริ้นเตอร์ หรือแม้แต่ชิ้นส่วนในรถยนต์ แต่หลายคนอาจจะนึกถึงพลาสติกที่ใกล้ชิดผู้บริโภคมากที่สุด นั่นก็คือ กลุ่มพลาสติกที่เอามาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์

หากถามว่าพลาสติกเกี่ยวกับโลกร้อนอย่างไร จริงๆ แล้วไม่ใช่แค่พลาสติก แต่วัสดุทุกอย่างจะมีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment) ทำให้ได้ข้อมูลที่บอกว่าวัสดุแต่ละชนิดมีผลต่อโลกร้อนแค่ไหน ซึ่งเวลาเราประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์​เราก็จะประเมินจากค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่มีอยู่ 6 ชนิดหลัก ซึ่งตัวที่ทุกคนรู้จักมากที่สุด ก็คือ คาร์บอนไดออกไซด์ โดยดูว่าการผลิตสินค้านี้ขึ้นมามีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา ในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าเท่าไหร่

วัฏจักรชีวิตของสินค้า จะมีอยู่ 5 ขั้นตอน ก็คือ 1.การได้มาซึ่งวัตถุดิบ 2.กระบวนการผลิต 3.การกระจายสินค้า 4.การนำสินค้าไปใช้งาน 5.การกำจัดซาก ซึ่งการกำจัดซากจะมีทั้งส่วนที่รีไซเคิลได้ และรีไซเคิลไม่ได้ การประเมินผลกระทบเกี่ยวกับโลกร้อน จะคิดออกมาเป็นค่าคาร์บอนที่ออกมาในแต่ละขั้นตอน เอามาบวกรวมกันจะเรียกว่าเป็นคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (carbon footprint) เมื่อผลิตสินค้าและบริการออกมา จะมีตัวเลขออกมาเพื่อใช้เปรียบเทียบว่ามีจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งจริงๆ แล้ว วงจรชีวิตของพลาสติกจะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยมาก แต่ในขั้นตอนการจัดการซาก เป็นขั้นตอนที่มีปัญหา โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากพลาสติกมีหลายชนิดมาก แล้วเป็นวัสดุที่อายุค่อนข้างยืน จำเป็นต้องมีการจัดการที่ใช้ระบบที่รัดกุมและมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม การทำให้พลาสติกสามารถช่วยลดโลกร้อนได้ ตามฟังก์ชันที่ควรจะเป็น จึงต้องผลักดันให้เกิดสิ่งเหล่านี้ คือ

  1. ทำให้พลาสติกถูกนำกลับมาใช้ใหม่
  2. ทำให้พลาสติกถูกนำกลับมารีไซเคิล
  3. ทำให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกถูกออกแบบมาให้รีไซเคิลได้ตั้งแต่แรก
  4. ทำให้พลาสติกที่นำไปรีไซเคิลไม่ได้จริงๆ ถูกนำไปทำถนน ทำอิฐ เพื่อไม่ให้มันหลุดรอดไปสู่สิ่งแวดล้อม
  5. ทำให้พลาสติกมีน้ำหนักเบาลงแต่ยังมีความทนทาน

Dow ในฐานะผู้นำด้านวัสดุศาสตร์ จึงได้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่เราภูมิใจ ได้แก่

เม็ดพลาสติก XUS 60921.01 มีส่วนผสมของพลาสติกที่ผ่านการใช้งานจากผู้บริโภค หรือ PCR (post-consumer resin) ในสัดส่วน 40% เพื่อผลิตเป็นฟิล์มยืดหดเพื่อรัดสินค้า (collation shrink film) โดยยังคงคุณสมบัติเทียบเท่ากับฟิล์มที่ทำมาจากเม็ดพลาสติกใหม่ 100% สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 17% และประหยัดพลังงานได้กว่า 30% (โดยประมาณ) เมื่อเทียบกับการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ทั้งหมด โดยผู้ผลิตสามารถนำไปใช้แทนเม็ดพลาสติกเดิมได้เลยโดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักร และเมื่อผ่านการใช้งานแล้วยังนำกลับไปรีไซเคิลซ้ำได้

เม็ดพลาสติก INNATE™ TF สำหรับผลิตฟิล์มโพลิเอทิลีน TF-BOPE (Tenter Frame Biaxially Oriented Polyethylene) โดยฟิล์มใหม่นี้จะแข็งแรงกว่าเดิม มีประสิทธิภาพในเรื่องความสวยงามและการพิมพ์ที่ดีกว่า ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ด้วยการใช้พลาสติกโพลิเอทิลีนทั้งหมด หรือ all-PE ซึ่งสะดวกต่อการนำไปรีไซเคิล ทดแทนการใช้พลาสติกหลายชนิด ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยลดปริมาณพลาสติดเหลือทิ้งได้อีกทางหนึ่ง สามารถนำไปผลิตเป็นถุงรีฟิล ถุงทรงตั้ง ถุงใส่ข้าวสาร ถุงใส่อาหารสัตว์ และถุงที่ต้องรองรับสินค้าที่มีน้ำหนักมาก

เม็ดพลาสติก RETAIN™ ที่ช่วยผสานให้พลาสติกหลายชนิดซึ่งตามปกติรีไซเคิลรวมกันไม่ได้ ให้สามารถหลอมรวมกันแล้วนำไปรีไซเคิลได้

ทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจก่อสร้าง ปิโตรเคมี และบรรจุภัณฑ์ ล้วนเป็นสิ่งที่ Dow ได้ใช้ความเชื่ยวชาญและความร่วมมือกับลูกค้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การลดคาร์บอน เพื่อให้เราเข้าใกล้เป้าหมายการลดโลกร้อนที่ทุกคนต่างร่วมแรงร่วมใจกันลงมือทำอย่างเป็นรูปธรรม

FYI การเลือกซื้อของแบบถุงรีฟิลช่วยลดโลกร้อนได้จริงไหม

แต่เดิมผลิตภัณฑ์จะใส่ในขวดแข็งซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าซอง ประมาณ 80-90% การทำถุงรีฟิลและพัฒนาให้ถุงรีฟิลมีฟังก์ชันที่ขวดแข็งทำได้ สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งในกระบวนการผลิต การขึ้นรูปวัตถุดิบ ลงไปได้ถึงประมาณ 80% รวมถึงสามารถขนส่งสินค้าได้มากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรเท่าเดิม ทำให้ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่งลงได้ และหากใช้ถุงที่ผลิตจากวัสดุชนิดเดียว (mono material) ก็ยังสามาถนำไปรีไซเคิลได้อีกด้วย